รายละเอียดหลักสูตร



หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัลและวิศวกรรมซอฟต์แวร์
หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศ าสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัลแล ะวิศวกรรมซอฟต์แวร์
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Digital Innovation and Software Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมดิจิทัลและวิศวกรรมซอฟต์แวร์)
ชื่อย่อ : วท.บ. (นวัตกรรมดิจิทัลและวิศวกรรมซอฟต์แวร์)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Digital Innovation and Software Engineering)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Digital Innovation and Software Engineering)

วิชาเอก

ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร
รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
ประเภทหลักสูตร เป็นหลักสูตรปริญญาตรีปฏิบัติการ
ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
รูปแบบความร่วมมือ
ร่วมมือกันโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานีเป็น ผู้ให้ปริญญา รวมถึงการพัฒนาหลักสูตร การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น การจัดการเรียนการสอน และการให้ความรู้ด้านนวัตกรรมดิจิทัลและวิศวกรรมซอฟต์แวร์แก่นักศึกษาและใช้บุคลากรจากหน่วยงานเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

ปีการศึกษา 2563

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Developer)
2. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
3. นักวิเคราะห์ระบบนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์ (Digital Innovation and Software System Analysis)
4. นักออกแบบนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์ (Digital Innovation and Software Designer)
5. นักวางแผนทางด้านนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Strategist)
6. ผู้ประกอบการนวัตกรรมดิจิทัลและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Digital Innovation and Software Engineering
    Entrepreneurship)
7. นักออกแบบส่วนประสานงานผู้ใช้ (User Interface Designer)
8. นักเขียนภาษาคอมพิวเตอร์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ (Multi-Platform Programmer)
9. นักทดสอบนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์ (Software Tester)
10. นักตรวจสอบด้านคุณภาพนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์ (Digital Innovation and Software Quality
     Assessment)
11. นักวิชาการด้านนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์ (Digital Innovation and Software Researcher)
12. นักบริหารโครงการนวัตกรรมดิจิทัลและซอฟต์แวร์ (Digital Innovation and Software Project Manager)
13. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)

สถานที่จัดการเรียนการสอน

ในสถานที่ตั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี